วันที่: 2015-10-06 10:13:58.0
กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นขนวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ เป็นพระราชประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยพบหลักฐานที่ชัดเจนเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เรือพระที่นั่งจะมีการแกะสลักรูปเทพและสัตว์ในวรรณคดี เช่น พญาครุฑ พญานาค กระบี่(วานร) ฯลฯ ในการจัดรูปขบวนนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ แต่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังที่ปรากฎใน ลิขิตพยุหยาตราเพชรพวง ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อปี พ.ศ. 2330 ในสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดเอายามแบบเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างเรือ 67 ลำ ใช้เป็นเรือพระที่นั่ง เรือกระบวนปิดทอง เรือพิฆาต และเรือแซง ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสร้างเพิ่มอีก 2 ลำ รัชกาลที่ 3 ทรงสร้าง 24 ลำ รัชกาลที่ 4 7 ลำ รัชกาลที่ 5 1 ลำ รัชกาลที่ 6 2 ลำ และก็ไม่ได้มีการสร้างเพิ่มอีก แต่อย่างใด จวบจนได้มาถึงสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จึงได้มีการสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ขึ้นเนื่องในโอกาศกาญจนาภิเษก เรือที่สำคัญ ๆ และได้ตกทอดมากระทั่งถึงสมัยปัจจุบัน ก็ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โดยสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 และได้มีการสร้างทดแทนลำเดิมในสมัยรัชกาลที่ 6 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 และเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 สร้างขึ้นสมัยรัชกาลปัจจุบัน
ในช่วงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา อู่เรือพระที่นั่งบริเวณคลองบางกอกน้อยถูกลูกระเบิดถล่มกระทั่งเรือเสียหายไปด้วยกันหลายลำ และต่อมาจึงได้มีการจัดการซ่อมแซมเรือ และโอนเรือในพระราชพิธี 36 ลำ ให้กรมศิลปากรดูแลและเก็บรักษาไว้ที่อู่เรือพระราชพิธีปากคลองบางกอกน้อย และบางส่วนที่เป็น เรือตำรวจ เรือดั้ง เรือแซง ได้โอนให้กองทัพเรือเก็บรักษาไว้
สำหรับกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลปัจจุบันนั้น โดยมากจะเป็นการพระราชดำเนินเสด็จไปทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม และ ประกอบพระราชพิธีที่สำคัญ ๆ เช่น การฉลองสิริราชสมบัติบรรจบ 50 ปี พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ เป็นต้น
โดยจะมีจุดเริ่มต้นของกระบวนเรือที่บริเวณท่าวาสุกรี โดยจะจอดเรือตั้งแต่หน้าสะพานกรุงธน ไปถึงหลังสะพานพระราม 8 ผ่านป้อมพระสุเมรุ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลศิริราช กรมอู่ทหารเรือ ราชนาวิกสภา พระบรมมหาราชวัง หอประชุม ทร. วัดอรุณราชวราราม และจะไปจอดเรืออยู่หน้าวัดกัลยาณมิตร
เรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีดังต่อไปนี้
|
|
|