Support
The I-city
094-9716464,02-0965404
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

สะพานพระรามแปด

nobphon | 02-10-2558 | เปิดดู 1920 | ความคิดเห็น 0

 

สะพานพระรามแปด

เมื่อลำเรือล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาได้สักระยะหนึ่งเราก็จะพบกับสะพานข้ามฝากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะเชื่อมต่อจากทางเชื่อมต่อทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนา (โรงงานสุราบางยี่ขันแต่เดิม) ที่เขตบางพลัด แล้วไปบรรจบที่ปลายทางถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา

สะพานเส้นนี้ได้เกิดขึ้นมาจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ทรงมีพระราชดำริให้ทางกรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เพื่อช่วยในการลดปัญหาการจราจรบนสะพานพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่นธนบุรี ซึ่งจะสามารถช่วยลดปัญหาการจราจรและเร่งระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และเร่งระบายรถบนสะพานกรุงธนบุรีได้อีก 20 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะโดยทั่วไปของสะพานพระรามแปด

มีความยาวโดยรวม 475 เมตร มีความสูงเท่าสะพานพระปิ่นเกล้า มีความลาดชันไม่เกิน 3% โดยแบ่งเป็น สะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตร โครงสร้างสะพานได้รับการออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร โดยมีความหมายว่า มีเสาสะพานหลักเพียงสองต้นบนฝั่งพระนคร 1 ต้น และฝั่งธนบุรีอีก 1 ต้น เพื่อใช้ในการรองรับน้ำหนัก โดยไม่มีเสารองรับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไม่มีปัญหาในเรื่องของการสัญจรทางน้ำ ในการรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 เส้น ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาหลักบนฝั่งธนบุรี เคเบิลในแต่ละเส้นนั้นจะประกอบไปด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น สามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรในการซ่อมแซมแต่อย่างใด

ความงดงาม

เนื่องจากสะพานพระรามแปด ใช้สายเคเบิลในการรับน้ำหนัก และเคเบิลแต่ละเส้นนั้นมีสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อได้รับแสงจะสะท้อนและส่งอเป็นประกายมีความสวยงามมาก ยิ่งในช่วงเวลาค่ำคืนจะยิ่งแสดงถึงความงดงามอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผู้ที่สัญจรทางน้ำจะเห็นความงดงามได้เด่นชัดกว่าทางบก เพราะจะสามารถมองเห็นตัวสะพานทั้งเส้นได้อย่างชัดเจน เช่นการดินเนอร์ล่องแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อผ่านสะพานนี้ จะได้รับรู้ถึงความโรแมนติกได้น่าประทับใจโดยไม่อาจจะลืมเลือน

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri May 03 10:48:04 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

สำรองที่นั่ง Call Now 094-9716464 , 02-047-0022