Support
www.it108connect.ran4u.com
062-5193997 , 02-4582949
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

มาทำความรู้จักกับสายแลน AMP แบบ CM กับ CMR

krieng.nt@gmail.com | 24-08-2557 | เปิดดู 7935 | ความคิดเห็น 0

   ถ้าพูดถึงเรื่องสายสัญญาณที่เป็นโลหะ (Communication Metallic Cables) ซึ่งก็คือสายทองแดง (Copper Cables) ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วนั่นเอง เช่นสาย UTP และ FTP เป็นต้น แต่สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปโดยส่วนใหญ่จะอ้างอิงการใช้ในเชิงสมรรถนะ และการใช้งาน (Performance and Application)เช่น Cat5/5e และ Cat 6 หรือ10/100Base-T, Gigabit Ethernet และ ATM เป็นต้น ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยสายในรูปแบบใด มาตรฐานการใช้งานทั้งหมดจะรวมถึงมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ เอาไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสายชนิดใดจะต้องมีคุณสมบัติหรือข้อกำหนดทางด้านการป้องกันอัคคีภัยในระดับต่างๆ ไว้ด้วย และต้องใช้งานให้เหมาะสมกับแต่ละชนิดของสายด้วยดังนั้นจึงเป็นที่มาของความสงสัยของหลายท่านที่ว่า สายชนิด CM มีความแตกต่างจากสายชนิด CMR อย่างไร

มาตรฐานความแตกต่างระหว่างสายแบบ CM กับ CMR

สายสัญญาณที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้มีอยู่หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับความสามารถในการหน่วงไฟที่มีระดับที่แตกต่างกัน ในกรณีที่มีอัคคีภัยเกิดขึ้นเมื่อมีการติดตั้งสายเหล่านั้นไปแล้วเริ่มจาก

สายชนิด PVC (Polyvinyl chloride) เป็นประเภทสายพลาสติก มีการใช้งานกันทั่วไปอย่างแพร่หลาย

สายไฟทั่วไปมักจะเป็นสายประเภทนี้ แต่ไม่มีคุณสมบัติการหน่วงไฟ

สายชนิด CM (Communication Metallic) เป็นสายที่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือ

การติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน (Horizontal Wiring) เพราะเป็นสายที่มีคุณสมบัติหน่วงไฟในแนวราบ

สายชนิด CMR (Communication Metallic Riser) สำหรับใช้งานในการติดตั้งแนวดิ่ง

เช่นการเดินสายสัญญาณระหว่างชั้นในอาคารโดยผ่านช่องเดินสายของตัวอาคาร (Vertical Shaft)

มีคุณสมบัติหน่วงไฟในแนวราบและแนวดิ่ง เพื่อป้องกันการลุกลามของเปลวไฟที่เกิดขึ้น จากชั้นหนึ่งไปสู่อีกชั้น

สายชนิด LSZH (Low Smoke Zero Halogen)

สายสัญญาณจะผ่านการทดสอบได้ก็ต่อเมื่อความหนาแน่นของควันไฟ (Opacity) จุดทดสอบไม่เกินข้อกำหนด

สายชนิดนี้ขณะติดไฟจะให้ควันไฟ/ควันพิษน้อยจึงทำให้ผู้ประสบอัคคีภัยสามารถหนีไฟได้ทันโดยไม่เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ

คุณสมบัติในการหน่วงเปลวไฟที่ต่างกันนั้นมาจากวัสดุในการทำ Jacket และกระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อนมากกว่า ดังนั้นสายที่มีคุณสมบัติการหน่วงไฟตามที่ระบุในมาตรฐานได้ดีกว่าย่อมมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า

มีความจำเป็นขนาดไหนที่จะต้องใช้สายสัญญาณที่มีคุณสมบัติดังกล่าว?

สำหรับในประเทศไทย พบว่าการติดตั้งสายสัญญาณมักจะทำร่วมกันกับการติดตั้งสายไฟฟ้าและสายสัญญาณอื่นๆ

รวมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งที่อาจไม่ผ่านคุณสมบัติตามข้อกำหนดของ UL เมื่อเกิดอัคคีภัยหรือเพลิงไหม้ ถึงแม้จะใช้งานสายสัญญาณที่ผ่านข้อกำหนด ไม่ว่าจะเป็น CM CMR หรือ LSZH จึงไม่ได้หมายความว่าการติดตั้งสายสัญญาณนั้นๆ จะสามารถป้องกันการลุกลามของเปลวไฟที่เกิดจากเพลิงไหม้ได้เพราะยังมีสายสัญญาณ สายไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในที่นั้นเป็นตัวลามไฟอีกทั้งปริมาณของสายสัญญาณที่ใช้งานกับระบบเครือข่ายสื่อสารมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับสายไฟฟ้าและสายสัญญาณอื่นๆที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร ดังนั้นสายสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (UTP CABLE) ที่ติดตั้งใช้งานก็อาจจะไม่มีผลต่อการป้องกันการลุกลามของเปลวไฟได้ตามคุณสมบัติที่ได้ถูกกำหนดมาอย่างไรก็ตาม หากมีความต้องการใช้สายประเภทที่มีคุณสมบัติในการหน่วงไฟผู้ใช้ควรตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนว่าคุณสมบัติที่กล่าวอ้างในท้องตลาดนั้นเป็นจริง เนื่องจากสายเหล่านี้ผลิตจากวัสดุพิเศษ มีราคาสูง จึงอาจจะมีการกล่าวอ้างที่เกินความเป็นจริงได้ โดยอาจพิจารณาจากการที่มีการทดสอบคุณสมบัติโดยหน่วยงาน 3rdparty เช่นเดียวกับที่ AMP NETCONNECT ผ่านการทดสอบจาก UL เพื่อให้แน่ใจได้ว่าได้สายสัญญาณที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของท่านอย่างแท้จริง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกหุ้มสายไม่ว่าจะเป็นชนิดใด

ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพบนการทำงานของสายสัญญาณแม้แต่นิดเดียว 

ความคิดเห็น

วันที่: Sat Nov 16 00:22:41 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0